บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 1
วัน จันทร์ ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2559 เวลา 13 : 30 – 17 : 30 น.
วันนี้เป็นการเรียนสอนวันแรกแบบเต็มตัว
ครูเบียร์ได้แจกที่ปั้มให้ และได้สอนเนื้อหาในเรื่องของ การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
ก่อนจะเริ่มเรียน ครูเบียร์ ก็มีเกม 9
จุดมาให้ลองทำโดยต้องลากเส้น 4 เส้น ให้ผ่านจุดทั้ง 9 จุดโดยห้ามยกปากกา และก็มีเพลงภาษาอังกฤษมาให้ฝึกร้องกัน ได้แก่ เพลง Hello
Fly Fly theButterfly Incy Wincy
spider Good morning
มาเริ่มเข้าสู่เนื้อหาของวันนี้ การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์ คือ
การคิดอย่างอริสระเพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหา
- คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์
- คุณค่าต่อตนเอง
- ทำให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
- ช่วยลดความเครียดทางอารมณ์
- มีความภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเอง
- นำมาซึ่งความเป็นผู้นำ
- ตะหนักถึงคุณค่าของตนเอง
- ช่วยส่งเสริมสุนทรียภาพ
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
Guilford ได้แบ่งองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์เป็น
4 ด้าน
ความคิดคล่องแคล่ว
คือ การคิดแบบไว คิดเร็ว
- ความคิดริเริ่ม คือ คิดใหม่และแตกต่าง
- ความคิดยืดหยุ่น คือ คิดในการปรับ หรือ การแก้ไขเฉพาะหน้า เช่น ถ้าไม่มีสีเทียน ก็ใช้สีไม้แทน
- ความคิดละเอียดลออ คือ คิดเล็กคิดน้อย คิดต่อยอดไปเรื่อยๆ
Torrance ได้แบ่งออกเป็น
3 ระยะ
- แรกเกิด-2ปี มีจินตนาการ สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
- 2-4 ปี ตื่นตัวกับสิ่งใหม่ ใช้จินตนาการกับการเล่น ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ช่วงความสนใจสั้น
- 4-6 ปี สนุกกับการวางแผน การเล่น การทำงาน ชอบเล่นสมมติเชื่อมโยงสิ่งต่างๆได้ แต่จะเข้าใจเหตุและผลได้ไม่ดีนัก
ลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
Torrance ได้แบ่งเป็น 5 ขั้น
ขั้นที่ 1 แสดงออกอย่างอิสระทางความคิด ไม่คำนึงถึงคุณภาพ
ขั้นที่ 2 งานที่ผลิตต้องอาศัยทักษะบางอย่าง
ขั้นที่ 3 ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆโดยไม่ซ้ำใคร
ขั้นที่ 4 ปรับปรุงขั้นที่ 3
ขั้นที่ 5 คิดสิ่งที่เป็นนามธรรมขั้นสูงสุด คิดหลักการใหม่ๆ
ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
- ก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่
- อำนวยประโยชน์สุขให้แก่บุคคล
- ช่วยให้เข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาได้ดี
- ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จ
- ช่วยให้ปรับตัวได้ดี
อธิบายความสามารถของสมองมนุษย์เป็นแบบจำลอง
3 มิติ
มิติที่ 1 เนื้อหา (ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด)
เช่น ภาพ ภาษ พฤติกรรม
มิติที่ 2 วิธีคิด (กระบวนการทำงานของสมอง)
เช่น การจำ การรู้และเข้าใจ
มิติที่ 3 ผลของการคิด (การตอบสนองต่อข้อมูลหรือสิ่งเร้า)
หน่วย จำพวก ความสัมพันธ์ ระบบ การแปลงรูป การประยุกต์
- เด็กเรียนรู้เอง
- เด็กคิดเอง
- ครูกับเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน
- สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
ทฤษฎีของ Torrance
ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกต่อปัญหา
แล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้จากการทดสอบ
ขั้นที่ 1 การพบความจริง
ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา
ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน
ขั้นที่ 4 การค้นพบคำตอบ
ขั้นที่ 5 ยอมรับผล
ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์จะต้อง
มีไหวพริบ กล้าแสดงออก อยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต
ในระหว่างที่ครูสอนก็มีกิจกรรมให้เราทำ
ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรม ทำเคื่องบินให้ลงในกล่องสีให้ได้ จะทำแบบไหนก็ได้
ก่อนที่ครูเบียร์จะให้กลับบ้านก็มีกิจกรรม
ให้วาดรูปเป็นเส้นๆแล้วเปิดเพลงก็ให้เรากับคู่ของเราวาดเส้นโดยไม่ยกมือวาดไปเรื่อยๆจนกว่าจะจนเพลง
และหลังจากนั้นก็ให้เรามองดูเส้นที่คู่เราว่าว่ามันเป็นรูปอะไรบ้างแล้วให้ใช้สีระบาย
มาดูผลงาน กันค่ะ
การนำไปประยุดใช้
นอกจากเราได้เรียนในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์เราก็ยังได้เรียนในการเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับเด็กโดยในห้องเรียนจะต้องไม่มีของเล่นที่แบ่งเพศที่ชัดเจน
ของเล่นที่เหมาะกับเด็กก็คือ พวกบล็อกไม้ และสามารถนำทฤษฎีทุกทฤษฎีนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสอนและนำกิจกรรมที่ครูได้นำมาให้เราทำก็สามารถนำไปปรับใช้กับเด็กเพื่อให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และในการตั้งคำถาม
การเป็นครูปฐมวัยนั้นจะต้องรู้จักการถามคำถามกับเด็กให้มากๆ เช่น ไม้แขวนเสื้อที่
ครูได้นำมาเป็นตัวอย่างในการตั้งคำถาม ไม้แขวนเสื้อมีสีอะไร ไม้แขวนเสื้อไว้ทำอะไร
ไม้แขวนเสื้อไว้ใช้อย่างไร ทำไมถึงต้องมีไม้แขวนเสื้อเป็นต้น
เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กได้ตอบคำถามและฝึกความคิด
ประเมิน
ประเมินตนเอง วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจร่วมทำกิจกรรมในทุกๆกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน วันนี้เป็นเพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีความตรงต่อเวลาในการเข้าสอนและมีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาได้อย่างละเอียดและมีกิจกรรมที่สนุกๆให้ได้ทำทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ