ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาว บงกช เพ่งหารัพย์ คะ

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันจันทร์ ที่24 ตุลาคม พ.ศ.2559


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก วันหยุดชดเชยวันปิยมหาราช





บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันจันทร์ ที่17 ตุลาคม พ.ศ.2559


ขาดเรียน เนื่องจาก ไปทำธุระกับครอบครัว 



ปริศนาคำท้ายงานกลุ่ม



บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันจันทร์ ที่10 ตุลาคม พ.ศ.2559


เนื้อหาการเรียน

       วันนี้เป็นการสลับการเรียนกับ อาจารย์ จ๋า วันแรกก็มีการทบทวนเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์ คือการทำงานของสมอง ที่ได้ทำการคิดอย่างอิสระและคิดแตกต่างจากเดิมและการจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์ซึ่งมีครูเป็นผู้คอยจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ทำกิจกรรมได้คิดเองและต้องมีความคิดที่หลากหลาย
โดยการเรียนรู้ของเด็กนั้น จะต้อง มีองค์ประกอบดังนี้ การรับ  การเปรียบเทียบ  การจัดหมวดหมู่
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์มีดังนี้
1.ความคิดริเริ่ม
2.คามคิดคล่องแคล่ว
3.ความคิดยืดหยุ่น
4.ความคิดละเอียดลออ  จากนั้นก็จะเกิดเป็นความคิดสร้างสรรค์

       โดยวันนี้ อาจารย์มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำ 4กิจกรรม โดยจะแบ่งเป็นฐาน 4 ฐาน และให้วน กันแต่ละฐานจนครบ โดยกิจกรรมแรกที่ได้ทำนั้น เป็นกิจกรรม ที่ต้องใช้ความคิดเป็นอย่างมาก
กิจกรรมฐานที่ 1 ประดิษฐ์สื่อจากจานกระดาษ  โดยอาจารย์จะแจก จานกระดาษให้คนละ 1 ใบ การออกแบบสื่อต้องห้ามซ้ำกับเพื่อนภายในห้อง ด้วย โดยดิฉันประดิษฐ์เป็นวงล้อสี โดยใช้

อุปกรณ์ดังนี้ 1.จานกระดาษ  2.สีเทียน 3.เชือก
วิธีการทำ  ขั้นแรกเริ่มจากการระบายสีลงจานกระดาษ ตามใจชอบ จากนั้นก็เจาะรูตรงกลางแล้วใช้เชือกร้อยเพื่อใช้สำหรับหมุนเมื่อเสร็จแล้วจะเป็นดังผลงานของฉัน




กิจกรรมฐานที่ 2 เป่าสีฟองสบู่ เป็นกิจกรรมที่ใช้สีผสมกับน้ำยาล้างจานลงไปจึงทำให้เกิดฟอง  โดยมี

อุปกรณ์ดังนี้ 1.สีต่างๆที่ผสมน้ำยาลงไปแล้ว 2.หลอด  3.กระดาษ A4
วิธีการทำ นำหลอดไปจุ้มสีแล้วนำมาเป่าใส่กระดาษให้เป็นฟองแล้วรอให้ฟองสบู่แตก ทำแบบนี้วนไปเรื่อยๆจนเราพอใจก็เป็นอันเสร็จ   มาดูผลงานของฉัน




กิจกรรมฐานที่ 3 กิจกรรมพิมพ์มือเป็นผีเสื้อ   เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้มือเป็นการทำ 

โดยมีอุปกรณ์ดังนี้  1.สีน้ำต่างๆ  2.กระดาษ A4 3.กรรไกร  4.พูกัน  5.กาว
วิธีการทำ ใช้สีทาลงมือฝามือทั้งสองข้าง จากนั้นรอสีให้แห้งแล้วตกแต่งให้สวยงาม แล้วตัดออกมาให้เป็นรูปผีเสื้อ จากนั้นก็นำกระดาษเส้นยาวๆเพื่อยึดให้ปีกของผีเสื้อขยับได้ มาดูผลงานของตัวเอง สิสวยมาก






กิจกรรมฐานที่ 4  กิจกรรมประดิษฐ์แมลง   เป็นการประดิษฐ์แมลงจากแกนกระดาษทิชชู่  

โดยมีอุปกรณ์ดังนี้ 1.แกนกระดาษทิชชู่  2.กรรไกร  3.กาว  4.เชือก  5.สี  6.ที่เจาะรู 7.กระดาษแข็ง
วิธีการทำ ขั้นแรกวาดแมลงที่เราจะทำลงไปในกระดาษและระบายสีให้สวยงาม  จากนั้นก็ตัดออก  ขั้นที่สอง  นำแกนกระดาษทิชชู่มาเจาะรูทั้ง หมด 4 รู แล้วใช้เชือกร้อยสลับขึ้นลง  จากนั้นมัดไม่ให้หลุด ขั้นที่สาม  นำตัวเมลงที่เราตัดแล้วมาติดกับแกนทิชชู่ เป็นอันเสร็จ มาชมผลงาน กันดีกว่า







       พอทำกันครบทุกฐาน อาจารย์ก็ได้มีการสรุปกิจกรรมที่ได้ทำไปทั้งหมดว่าสามารถนำไปประยุกต์ได้อย่างไรบ้าง และ ได้ถามว่าสื่อที่เราประดิษฐ์มานั้นสามารถใช้สอนอย่างไร

การนำไปประยุกต์ใช้
       เราสามารถนำกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้มาประยุกต์ใช้ให้กับเด็กได้ลงมือทำด้วยตัวเองเพราะเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจและสนุกเพื่อให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบด้วยตัวเองและไม่ปิดกั้นความคิดของเด็ก

การประเมิน
ประเมินตนเอง  วันนี้มาเรียนตรงเวลาและตั้งใจทำกิจกรรมในทุกๆฐานและตั้งใจเวลาพูดอธิบายทุกครั้ง

ประเมินเพื่อน วันนี้เพื่อนๆทุกคนมาเรียนกันตรงเวลา และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมโดยผลของของแต่ละคนทำได้ออกมาได้น่ารักมาก


ประเมินอาจารย์   วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเหมือนในทุกๆครั้ง มีกิจกรรมที่น่าสนุกให้นักศึกษาได้ลงมือกระทำด้วยตัวเอง เป็นกิจกรรมที่ไม่น่าเบื่อ




บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันจันทร์ ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2559

เนื้อหาการเรียน
       
       วันนี้ครูเบียร์ให้เราทำกิจกรรม STEM&STEAM  ให้เราเลือกจากในแผนที่เราคิดกิจกรรมา แล้วมาให้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มช่วยกันทำ โดยกำหนดเวลา กลุ่มละ 30 นาที
กลุ่มที่ 1 สร้างบ่อปล
    

กลุ่มที่ 2 สร้างถนนจากดินน้ำมัน




กลุ่มที่ 3 สร้างหุ่นไล่กา (เป็นกิจกรรมของกลุ่มตัวเอง)
อุปกรณ์มีดังนี้
1.ช้อนพลาสติก
2.ไหมพรม
3.กรรไกร
4.กระดาษสีต่างๆ
5.ไม้กวาดที่ตัดทำเป็นแขนของหุ่น
6.ด้าย
7.กาว
8.เมจิก
วิธีการทำ  ขั้นแรกก็ให้เด็กๆวาดหมวกให้หุ่นไล่กาในกระดาษแล้วตัดออกมา และวาดหน้าตาให้หุ่นลงในช้อน จากนั้นก็ติดกาวนำนำชิ้นส่วนที่ตัดออกมาไปติดที่ช้อนแล้วนำขนไม้กวาดที่มัดรวมกันแล้วไปยึดติดที่ตรงดามช้อนให้แน่นแล้วนำไปปักในกระถาง

    

กลุ่มที่ 4 วงจรชีวิตไข่


   

กลุ่มที่ 5 วาดบ้าน
   

กลุ่มที่ 6 วาดทุ่งนา




การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
  
       เราสามารถนำกิจกรรมที่เพื่อนๆแต่ละกลุ่มนำมาปรับใช้ได้จริงกับการนำไปสอนเด็กเพราะแต่ละกิจกรรมที่เพื่อนๆนำมานั้นวสามารถบูรณาการณ์ได้หลายอย่างและเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจและสนุก

การประเมิน
ประเมินตนเอง  วันนี้ตั้งใจทำกิจกรรมในทุกๆกิจกรรมแล้วให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน  วันนี้เพื่อนๆเป็นเด็กนักเรียนได้น่ารักและเป็นคุณครูที่ดี ช่วยกันทำกิจกรรมอย่างตั้งใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีมาก


ประเมินอาจารย์  วันนี้อาจารย์อาจจะยุ่งๆบ้างที่ต้องตรวจงานพี่ปี 5 และก็ต้องสอนพวกเราไปด้วย แต่อาจารย์ก็สามารถทำให้การเรียนการสอนดำเนินไปได้อย่างดี คะ 




บันทึกการเรียนครั้งที่  5
วันจันทร์ ที่ 26 กันยายน  พ..2559



สอบกลางภาค

บันทึกการเรียนครั้งที่  4
วันจันทร์ ที่ 19 กันยายน  พ..2559


เนื้อหาการเรียน 


       วันนี้ได้เรียนกับอาจารย์ กฤตธ์ตฤณน์ เนื่องอาจารย์ เบียร์ติดงานราชการ แต่ก็มีการมอบหมายงานให้ทำเป็นงานกลุ่มคือ Creative Thinking “STEM&STEAM”  โดยให้แบ่งเป็นกลุ่ม 5 – 6 คน และให้ระดมความคิดว่าเราจะทำกิจกรรมอะไร โดยสรุปออกมาแล้วกลุ่มเราทำเรื่อง ข้าว โดยมีกิจกรรม ดังนี้


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันจันทร์ ที่ 12กันยายน  พ..2559 



เนื้อหาการเรียน
       วันนี้เป็นการเรียนร่วมของทั้งสองเซคในวันนี้ครูเบียร์ได้สอนเกี่ยว กับ STEM / STEAM 
STEM  คืออะไร
-                   เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
   นำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
-                   เน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
STEM Education (สะเต็มศึกษา)
-         Science (วิทยาศาสตร์) คือการเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้อธิบายกฎเกณฑ์หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยใช้หลักและระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์
-           Technology (เทคโนโลยี)สิ่งที่เราสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต
ไม่ใช่มีความหมายเพียงแค่คอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงสิ่งประดิษฐ์ตามยุคสมัยต่าง ๆ อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือรวมไปถึงเครื่องใช้ทั่วไปอย่าง ยางลบ, มีด, กรรไกร,
กบเหลาดินสอ เป็นต้น
-           Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง และช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดออกแบบสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
-           Mathematics (คณิตศาสตร์) ทักษะทางคณิตศาสตร์นี้เป็นทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกแขนงวิชา เพราะเป็นศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ มีความแม่นยำ เรายังสามารถพบคณิตศาสตร์ได้ในชีวิตประจำวันของเราแทบจะทุกที่
ทุกเวลาอีกด้วย
“STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
       “STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น
การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์
ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น
 STEAM Education (สะตีมศึกษา)
ตัวอย่างการนำ STEM เข้ามาใช้ในการเรียนการสอน
STEM นม?

 
Science (วิทยาศาสตร์) คำถาม นมมาจากไหน วัวมีลักษณะอย่างไร
Technology (เทคโนโลยี) คำถาม สืบค้นภาพวัวและขั้นตอนการรีดนมวัว นมอัดเม็ด
Engineering (วิศวกรรมศาสตร์) คำถาม ออกแบบฟาร์มเลี้ยงวัว ออกแบบกล่องหรือขวดนม
Mathematic (คณิตศาสตร์) คำถาม วันหมดอายุ ขนาดของนมในกล่องหรือขวด ราคา
STEAM Education
    การนำ “STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “Art”
   เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้น ๆ ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
STEAM Education (สะตีมศึกษา)
   Science
   Technology
  Engineering
  Art
Mathematics
ตัวอย่างการนำ STEAM เข้ามาใช้ในการเรียนการสอน
STEAM ผีเสื้อ?

 
Science (วิทยาศาสตร์) คำถาม วงจรชีวิต การเจริญเติบโต สายพันธ์
Technology (เทคโนโลยี) คำถาม หนอนไหม
Engineering (วิศวกรรมศาสตร์) คำถาม ออกแบบและสร้างกรงเลี้ยงหนอน และกรงผีเสื้อ
Art (ศิลปะ) คำถาม วาดภาพผีเสื้อ ปั้นรูปผีเสื้อ
Mathematic (คณิตศาสตร์) คำถาม ขนาดของผีเสื้อ ผีเสื้อมีกี่สี

       หลังจากที่เราได้เรียนกันเสร็จ ก็ได้ลงมือทำกิจกรรม STEAM Education ผีเสื้อ มีทั้งหมด 3กิจกรรม โดยเริ่มจากกิจกรรมแรกคือ กิจกรรมทำผีเสื้อ



อุปกรณ์มีดังนี้
1. จานกระดาษ
2. สีเทียน
3.กรรไกร
4.ไม้ไอศกรีม
5.กาวสองหน้า

วิธีการทำ    ก็แล้วแต่ล่ะกลุ่มจะออกแบบว่าจะให้ผีเสื้อของกลุ่มตัวเองเป็นอย่างไรโดยให้ใช้อุปกรณ์ที่ครูเบียร์ได้แจกให้
 มาดูผลงานกลุ่มของเรา สวยมั้ย


 กิจกรรมที่สอง คือ การสร้างกรงให้ผผีเสื้อ
อุปกรณ์มีดังนี้
1.กิ่งไม้แห้ง
2.ใบไม้และดอกไม้
3.ผ้าแก้ว
4.เชือก
5.ตุ๊กตา
6.ผีเสื้อที่เราได้ทำ




วิธีการทำ
นำกิ่งไม้แห้งที่เราเตรียมมานั้นมาวางโครงร่างแบบใดก็ได้ที่เราออกแบบ และใช้เชือกผูกให้ติดกันจากนั้นก็ใช้ผ้าแก้วคลุมโครงให้เรียบร้อยและใช้ใบไม้กับดอกไม้ตกแต่งให้สวยงาม

กิจกรรที่สาม คือ  Stop Motion
อุปกรณ์มีดังนี้
1.ดินน้ำมัน
2.โทรศัพท์ที่มีApp Stop Motion Studio
วิธีการทำ เริ่มจากการวางแผนในแต่ล่ะกลุ่มว่าเราจะนำเสนอแบบใดและจะเริ่มจากฉากก็และเริ่มนำดินน้ำมันมาเป็นเป็นตัวละครที่ใช้ในฉาก มาดูผลงานของกลุ่มเรากันค่ะ

                                                                             ชมคลิป

การนำความรู้มาประยุกต์ใช้

        เราสามารถนำความรู้ในเรื่องของ stemและsteam นำมาบูรณาการกับการเรียนการสอนให้กับเด็กได้เพื่อที่เด็กจะได้ความรู้ในทุกๆด้าน

การประเมิน
ประเมินตนเอง  วันนี้ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน  วันนี้เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่มเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีและมีกิจกรรมที่สนุกๆให้นักศึกษาได้ทำทำให้เรียนแล้วไม่น่าเบื่อ